กรมการขนส่งทางบกมีบริการอยู่ทั้งหมด 5 จุดทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งวันนี้เราจะมารีวิวในบริเวณของกรมการขนส่งหมอชิตกัน ซึ่งจะเปิดทำการทุกวันตั้งแต่ 7.30 – 16.30 ในเวลาราชการ
การเดินทางไปกรมการขนส่งทางบกเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศ วิธีที่ไปได้สะดวกสบายที่สุดคือการนั่งรถไฟฟ้า BTS แล้วลงสถานีจตุจัตร แล้วออกทางออกที่ 2
เมื่อเจอทางออกที่ 2 แล้วก็เดินบันไดลงมา แล้วเดินตรงไปข้างหน้าอย่างเดียวประมาณ 10 นาที ก็จะถึงกรมการขนส่งทางบก หรือถ้าใครกลัวหลง หรือไม่อยากเดินเพราะอากาศที่ร้อน ก็สามารถนั่งวินมอเตอร์ไซค์ตรงทางขึ้น BTS ได้เลย ด้วยราคาเพียง 20 บาทเท่านั้น
โดยอาคารที่ทำใบขับขี่ระหว่างประเทศอยู่ที่อาคาร 4 ถ้าใครนั่งพี่วินมอเตอร์ไซค์ก็บอกพี่วินได้เลยว่า ไปกรมการขนส่งอาคาร 4 พี่วินก็จะทราบแล้วขับไปส่งถึงหน้าตึกเลย แต่ถ้าใครอยากเดินออกกำลังกายล่ะก็ เมื่อเจอทางเข้า DLT (Department of Land Transport) ก็เดินเข้าไปเลย โดยอาคาร 4 จะอยู่ด้านในสุด เดินตรงไป แล้วสังเกตุด้านขาวมือ จะมีเขียนว่า “อาคาร ๔”
จาก BTS เดินมาเรื่อยๆ ก็จะเจอหน้าตาถนนประมาณนี้ แสดงว่าเรามาถูกทางแล้ว
เมื่อเดินมาสักพักก็จะเจอป้ายกรมการขนส่งทางบก แสดงว่าเรามาถูกทางแล้ว แต่ว่าทางนี้ยังไม่ใช่ทางเข้า
เดินถัดมาอีกสักนิดก็จะเจอทางเข้า ซึ่งเดินเข้าทางด้านนี้ได้เลย แต่ต้องระวังรถเป็นพิเศษ เพราะรถเข้าออกเยอะมาก
เมื่อเดินเข้ามาแล้วก็เดินตรงมาเรื่อยๆ จนเกือบสุดทาง แล้งสังเกตุด้านขวามือ จะมีตึกที่มีป้ายขึ้นชัดเจนว่า “อาคาร๔” แล้วเดินเข้ามาเลย
เมื่อเดินเข้าตึกแล้ว โปรคสังเกตุด้านซ้ายมือของท่าน เพราะบริการทำใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศจะอยู่ด้านซ้ายมือของท่าน เมื่อเดินข้าตึกปุ๊บจะเจอเลย อยู่ชั้น1 ติดประตูทางเข้าเลย
เมื่อเข้าไปจะเจอเจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารก่อนเลย ถ้าเอกสารครบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ก็จะทำการกดบัตรคิวให้ แต่ถ้าเอกสารไม่ครบเจ้าหน้าที่ก็จะให้เราจัดการเอกสารให้ครบที่ด้านนอก เช่นการเซ็นเอกสาร หรือการถ่ายสำเนาบัตรประชาชน
1. สำเนาหนังสือเดินทาง เล่มที่ใช้ในการเดินทาง ประวัติหน้าที่แก้ไข (พร้อมฉบับจริง)
2. สำเนาบัตรประชาชน (พร้อมฉบับจริง)
3. สำเนาใบขับขี่รถส่วนบุคคล หรือ ตลอดชีพ (พร้อมฉบับจริง) ใบอนุญาตเป็นู้ประจำรถตามกฏหมายว่าด้วยกรมการขนส่งทางบกซึ่งยังไม่หมดอายุ (พร้อมฉบับจริง)
4. รูปถ่าย ขนาน 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ (รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน) ถ่ายรูปหน้าตรง ไม่สวมหมวกหรือสวมแว่นตาสีเข้ม และไม่มีภาพวิวด้านหลังรูป
5. สำเนาหลักฐานการแก้ไขชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรสหรือใบหย่า
6. ค่าธรรมเนียม 505 บาท
ก็มอบฉันทะให้คนอื่นมาทำแทนก็ไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยากเลย นอกจากเอกสารที่เขียนไปด้านบนแล้ว ยังต้องเพิ่มหลักฐานสำหรับผู้รับมอบอำนาจด้วย
1. ใบมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท (หากไม่สามารถหาซื้อได้ ก็สามารถซื้อได้ที่หน้าเคาเตอร์ได้เลย)
2. สำเนาบัตรประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจ (ต้องเขียนเบอร์โทรศัพท์ผู้รับมอบอำนาจในใบสำเนาด้วย)
เมื่อเอกสารทุกอย่างครบ เจ้าหน้าที่ก็จะกดบัตรคิวให้เรา ที่เหลือก็เพียงแค่รอคิว และชำระค่าบริการที่หน้าเคาเตอร์ เมื่อชำระค่าบริการแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะให้เรารออีกครั้ง เพื่อรอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศ
เพียงเท่านี้การขอใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
1. ใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศมีอายุ 1 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
2. ใบอนุญาตขับขี่ประเภทนี้ไม่สามารถขับขี่รถในประเทศไทยได้